เด็กคือผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

เด็กคือผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

์

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

พื้นฐานการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณ

พื้นฐานการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณ

คำนำ :
การเจริญเติบโตเป็นธรรมชาติของชีวิตที่ปกติ ถ้าชีวิตใดไม่เจริญเติบโตแสดงว่ามีความปกติบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งความจริงนี้เป็นจริงในชีวิตคริสเตียนด้วย คริสเตียนที่บังเกิดใหม่แล้วจะต้องมีการเจริญเติบโตขึ้นในพระเจ้าตามลำดับ แต่ถ้าคริสเตียนคนใดไม่มีการเจริญเติบฝ่ายวิญญาณ ให้สงสัยไว้ก่อนว่า ชีวิตคริสเตียนคนนั้นผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น เช่น อาจจะยังไม่ได้บังเกิดใหม่ หรือมีโรคฝ่ายวิญญาณ หรือขาดการบำรุงรักษาฝ่ายวิญญาณ เป็นต้น

1. เป้าหมายสูงสุดของชีวิตคริสเตียน
1.1 เป้าหมายสูงสุดของคริสเตียนคือ การเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์
• เอเฟซัส 4:13 เราจะต้องเสริมสร้างซึ่งกันและกัน จนกว่าทุกคนจะเต็มขนาดความไพบูยล์ของพระเยซูคริสต์ (เป็นเหมือนนพระเยซูคริสต์)
• โรม 8:29 แผนการไถ่สูงสุดของพระเจ้าคือ ให้เราเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ ซึ่งเป็นบุตรหัวปีแห่งพระฉายาของพระเจ้า
1.2 เหตุผล-เพราะ…
• พระเยซูคริสต์เป็นบุตรหัวปีของสรรพสิ่ง (คส.1:15)
• พระเจ้าทรงสร้างเราให้เป็นพระฉายของพระองค์ (ปฐก.1:26)
• ความบาปทำลายมนุษย์ ทำให้เราเสื่อจากพระฉายของพระเจ้า (รม.3:23)
• แผนการของในการไถ่บาปเรามีเป้าหมายสำคัญที่สุดคือ การนำเรากลับคืนสู่พระฉายของพระเจ้า (รม.8:29)
1.3 สรุป
ดังนั้นการเจริญเติบโตของคริสเตียนหมายถึง การเจริญขึ้นในพระฉายของพระเจ้า หรือการเจริญขึ้นในความเหมือนพระเยซูคริสต์นั่นเอง

2. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณ 
2.1 การเติบโตฝ่ายวิญญาณไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
ก. จาก ฮีบรู 5:12-14 เราจะเห็นหลักการบางอย่างเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของคริสเตียนดังนี้
• จากข้อความข้างต้นเราพบว่าพระวจนะของพระเจ้าเปรียบเหมือนอาหารที่เราต้องกินเพื่อให้เติบโตฝ่ายวิญญาณ ในที่นี้ได้พูดถึงอาหาร 2 ประเภทคือ “น้ำนม” และ “อาหารแข็ง”
• “น้ำนม” หมายถึง หลักข้อเชื่อพื้นฐาน ซึ่งทำให้ผู้เชื่อใหม่รับผิดชอบชีวิตคริสเตียนที่ง่าย ๆ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก
• “อาหารแข็ง” หมายถึง หลักข้อเชื่อในพระคัมภีร์ที่เป็นส่วนที่เข้าใจได้ยากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนรู้จะต้องพัฒนาชีวิตคริสเตียนของตนให้มีความรับผิดชอบสูงขึ้น ทั้งในชีวิตส่วนตัว, ในครอบครัว, ในที่ทำงาน, ในคริสตจักร, ในการรับใช้พระเจ้าด้านต่าง ๆ และการช่วยผู้อื่นให้เจริญขึ้นในพระเจ้าด้วย
• เป็นไปได้ที่คริสเตียนที่เชื่อมานานแล้วจะยังไม่เจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณและไม่สามารถรับอาหารแข็งได้
ข. ดังนั้นการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณจึงไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติ แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้อง…
• ยอมอุทิศตัวเพื่อพัฒนาชีวิตฝ่ายวิญญาณ
• ให้เวลากับการพัฒนาความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างมีวินัย
• มีความเพียรพยายามและอดทนต่อการทดสอบ
• ร่วมมือกับผู้นำคริสตจักรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา
• เรียนรู้ที่จะศึกษาและเชื่อฟังปฏิบัติพระวจนะของพระเจ้า
2.2 การเติบโตฝ่ายวิญญาณเป็นกระบวนการ
ก. จาก เอเฟซัส 4:13 เราจะเห็นหลักการบางอย่างเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของคริสเตียนดังนี้
จากคำว่า “จนกว่า” แสดงให้เห็นว่าจะต้องใช้เวลาที่จะบรรลุถึง “ความสมบูรณ์” หรือ “ความไพบูลย์ของพระคริสต์” โดยความจริงแล้วการเติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ในพระคริสต์จะต้องใช้เวลาตลอดชีวิตของเรา
ข. อัครทูตเปาโลเป็นคริสเตียนที่เติบโตมากที่สุดผู้หนึ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ดีท่านก็ยังไม่ได้บอกว่าท่านเหมือนพระฉายของพระเยซูอย่างสมบูรณ์ ท่านกล่าวว่า “มิใช่ว่าข้าพเจ้าได้แล้วหรือสำเร็จแล้ว แต่ข้าพเจ้ากำลังบากบั่นมุ่งไป….ข้าพเจ้ากำลังบากบั่นมุ่งไปสู่หลักชัย เพื่อจะได้รับรางวัลซึ่งในพระเยซูคริสต์พระเจ้าได้ทรงเรียกจากเบื้องบนให้เราไปรับ” (ฟป. 3:12ก, 14)
ค. การเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณไม่มี “การเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณแบบสำเร็จรูป” ไม่มีทางลัดในการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณ แต่เราสามารถเติบโตได้เร็วขึ้นถ้าเรายอมกับพระเจ้าและมีวินัยในชีวิต
2.3 การเติบโตฝ่ายวิญญาณต้องมีชีวิตที่มีวินัย
ก. เราจะต้องฝึกตนในทางธรรม (1 ทธ. 4:7ข-8)
• ถ้าเราไม่มีวินัย เราก็ไม่สามารถเป็นสาวกที่ดีของพระเยซูคริสต์ได้ (ในภาษาอังกฤษคำว่า “สาวก” มาจากรากศัพท์ของคำว่า “วินัย”)
• ไม่มีนักกีฬาคนใหนในโลกจะประสบความสำเร็จได้โดยที่ไม่ต้องฝึกซ้อมอย่างมีวินัย
ข. พระเยซูคริสต์เรียกร้องให้เราเอาชนะตนเองและแบกกางเขน (ลก. 9:23 ; 14:27)
• กางเขนเป็นสัญลักษณ์ของความตาย และการแบกกางเขนของเราหมายความว่าเรา “ตายต่อตัวเอง” หรือ “ปฏิเสธตัวเอง” ซึ่งก็คือเราให้พระคริสต์เป็นที่หนึ่งในชีวิตของเรา เราจะติดตามและเชื่อฟังพระองค์แทนที่จะทำตามใจปรารถนาของตัวเอง

3. หัวใจของการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณคือ การพัฒนาความสัมพันธ์กับพระเจ้า
3.1 ความปรารถนาของพระเยซูคริสต์
ก. พระเยซูคริสต์ทรงเรียกร้องให้เราสามัคคีธรรมกับพระองค์ (วว.3:20)
• พระเยซูทรงรอให้คริสเตียนเปิดประตูรับพระองค์
• พระเยซูทรงปรารถนาที่จะรับประทานหรือสามัคคีธรรมกับเรา
• คริสเตียนบางคนให้พระเจ้ายืนอยู่ข้างนอกใจของเขาและจะให้พระเจ้าเสด็จเข้ามาในบางโอกาสเท่านั้น พวกเขาไม่ได้พัฒนานิสัยในการใช้เวลากับพระเจ้าทุกวัน พระเจ้าทรงปรารถนาที่จะสามัคคีธรรมกับเราทุกวัน
ข. เคล็ดลับแห่งการมีชีวิตคริสเตียนที่เกิดผลคือ การติดสนิทกับพระเยซูคริสต์ (ยน.15:1-8)
• จำเป็นอย่างยิ่งที่ชีวิตคริสเตียนจะต้องเกิดผล เพราะถ้าไม่เกิดผลพระเจ้าจะตัดทิ้งเสีย (1-2)
• วิธีเดียวที่จะเกิดผลได้ก็คือ การเข้าสนิทในพระเยซูคริสต์ (3-6)
• เมื่อเราเข้าสนิทอยู่พระเยซูคริสต์แล้ว จะมีปรากฏการณ์ 2 อย่างเกิดขึ้นในชีวิตของเราคือ การดำเนินชีวิตในถ้อยคำของพระองค์และการทูลอธิษฐานในพระนามพระองค์ (7)
• ในที่สุดพระบิดาจะได้รับเกียรติเมื่อเราเกิดผลมากเพราะการเข้าสนิทในพระเยซูคริสต์ (8)
3.2 หัวใจแห่งความสัมพันธ์กับพระเจ้า
ก. การดำเนินชีวิตในพระวจนะของพระเจ้า
• การดำเนินชีวิตในพระวจนะของพระเยซูคริสต์เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของการเป็นสาวก (ยน. 8:31-32)
• การดำเนินชีวิตในพระวจนะของพระเยซูคริสต์เป็นจุดหมายปลายทางของการสร้างสาวกตามหลักการแห่งพระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ (มธ.28:18-20 เน้นข้อ 20)
• พระวจนะของพระเจ้าเป็นเครื่องมือสำคัญของพระเจ้าในการสร้างชีวิตของเรา (ฮร.4:12, 2ทธ.3:16-17)
ข. การอธิษฐาน
• พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างในการอธิษฐาน (มก.1:35)
• พระเจ้าทรงปรารถนาให้คริสเตียนอธิษฐานเสมอ (1ธก.5:17)

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสอนเด็กให้อธิษฐานเป็น

สอนเด็กให้อธิษฐาน

 

เมื่อพระเยซูทรงอธิษฐานอยู่ในที่แห่งหนึ่ง พอจบแล้วสาวกของพระองค์คนหนึ่ง ทูลว่า พระองค์เจ้าข้า ขอสอนพวกข้าพระองค์ให้อธิษฐาน เหมือนยอห์นได้สอนพวกศิษย์ของตน” (ลูกา 11:1)

 

ในขณะที่มีหลายคนท่องจำคำอธิษฐานของพระเยซูในพระธรรมมัทธิว 6:9 นี้  เราควรให้ความสนใจจุดที่เป็นหลักการของการอธิษฐานที่ได้สอนเราจากพระธรรมในตอนนี้

 

คำอธิษฐานของพระเยซู

ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์ เป็นที่เคารพสักการะ

·        เราเข้าไปใกล้ความเห็นอกเห็นใจของพระเจ้า

·        เรารับรู้ว่าพระเจ้าผู้ทรงรักทรงรับสดับฟัง และสนใจเรา

·        พระองค์ทรงสูงสุดเหนือพระ และมนุษย์ทั้งปวง

·        เป็นที่เคารพสักการะ หมายถึง พระองค์ผู้ทรงบริสุทธิ์ทรงสมควรได้รับการยกย่องสูงสุด

เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าในขณะที่พระเจ้าทรงมีความสงสารต่อเรานั้นพระองค์ทรงบริสุทธิ์ และเพราะพระองค์ทรงบริสุทธิ์ พระองค์ทรงต้องการให้บรรดาบุตรของพระองค์ดำเนินชีวิตด้วยความชอบธรรม (1เปโตร 1\;14-15)

 

ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไร ก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก

·        เราอธิษฐานว่า ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่หมายความว่า เรากำลังมีส่วนเห็นด้วยในเป้าหมายอันเดียวกันกับพระองค์ (วิวรณ์ 11:15)

·        ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้พูดอยู่เสมอว่า แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ในคำอธิษฐานของเรา แต่ท่าทีในการเห็นด้วยอย่างที่สุดกับน้ำพระทัยของพระองค์นั้นต้องปรากฏเป็นรากฐานแห่งคำอธิษฐานของเรา

·        การยอมฟังต่อน้ำพระทัยของพระเจ้าต้องเป็นท่าทีในการอธิษฐานของเรา

·        ขอให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไร ก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลกเราสามารถมีความมั่นใจในพระเจ้าผู้ทรงให้น้ำพระทัยอันสมบูรณ์ของพระองค์สำเร็จในสวรรค์ และเรากำลังเชื้อเชิญพระองค์ที่จะนำน้ำพระทัยอันสมบูรณ์ของพระองค์มาสู่ชีวิตของเรา

เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าในการเป็นบุตรของพระเจ้านั้นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการอันประเสริฐของพระองค์  พวกเขาจำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าพระเจ้าทรงทราบตลอดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุตรของพระองค์

 

ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในกาลวันนี้

·        พระเจ้าทรงสร้างเราให้มีร่างกายที่มีความต้องการ พระองค์ทรงพิสูจน์ให้เห็นตลอดประวัติศาสตร์แล้วว่า พระองค์จะทรงจัดเตรียมสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาบุตรของพระองค์

·        จากรูปแบบการอธิษฐานนี้ทำให้เรารู้ว่า พระเจ้าทรงปรารถนาที่จะให้เราอธิษฐานขอให้พระองค์ประทานสิ่งที่เราต้องการให้กับเรา

·        เราได้เห็นการพึ่งพาพระเจ้าสำหรับทุกสิ่งในชีวิต

·        การจัดเตรียมต่อความต้องการพื้นฐานของเรา ทำให้เราสามารถเติมเต็มพระประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อเราบนโลกนี้ได้

เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้จัดเตรียมสำหรับความต้องการของพวกเขา

 

ขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์

·        การรู้จักการให้อภัยของพระเจ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตที่มีชัยชนะต่อความบาป

·        เมื่อใดก็ตามที่เราอธิษฐานขอการอภัย และพระเมตตาจากพระเจ้าด้วยความถ่อมใจ พระองค์จะไม่ทรงปฏิเสธเรา

·        การสารภาพบาปต่อพระเจ้าทำให้เรามีความถ่อมใจ และเป็นการเตือนเราถึงการต้องพึ่งพาพระเมตตาของพระองค์

·        เมื่อเรากำลังเจริญขึ้นสู่ความบริสุทธิ์เราก็เรียนรู้การที่จะให้อภัยกับคนอื่น เพราะว่าพระวิญญาณของพระเจ้าผู้ทรงประทับในเราทรงให้อภัยแก่เรา

เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงความสำคัญในการสารภาพความผิดบาปต่อพระเจ้า พระเจ้าทรงรู้จักธรรมชาติบาปของเรา พระองค์ได้ทรงจัดเตรียมหนทางสำหรับเราในการเจริญเติบโตในพระวิญญาณโดยที่ความบาปไม่สามารถมาหยุดยั้งการเจริญเติบโตนั้นได้

 

และขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้พ้นจากซึ่งชั่วร้าย

·        การยกโทษของพระเจ้าปลดปล่อยเราจากการลงโทษบาป ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าปกป้องเราจากการทดลองที่เข้ามาในอนาคต

·        เรารู้ว่าศัตรูของเรานั้นรู้จักธรรมชาติของมนุษย์ และจุดอ่อนของเรา และเมื่อเราตระหนักถึงแนวโน้มในการทำบาปของเรา เราสามารถอธิษฐานขอพระเจ้าที่จะประทานกำลังของพระองค์แก่เราได้ พระองค์จะทรงตอบเราโดยประทานกำลัง และการปกป้องจากสิ่งชั่วร้ายให้กับเรา

เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีความเข้าในว่า ซาตาน มีจริง และมันไม่ต้องการให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการดำเนินกับพระเจ้า การที่รู้สิ่งนี้เป็นการจัดเตรียมของพระเจ้าในทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จในความสัมพันธ์กับพระองค์

 

ทำไมการสอนให้เด็ก ๆ อธิษฐานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

เพราะว่าโดยการอธิษฐานพระเจ้าทรงสำแดงน้ำพระทัยของพระองค์แก่บุตรของพระองค์

 

การอธิษฐานเป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างพระบิดาและบุตรของพระองค์

 

เด็กสามารถมีประสบการณ์การทรงสถิตอยู่ของพระเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ผู้ทรงกระทำกิจภายในชีวิตของพวกเขาผ่านทางการอธิษฐาน

 

สอนให้เด็กอธิษฐานอย่างไร

เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเด็กให้มีความเข้าใจถึงการอธิษฐานว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่ควรมีในชีวิตคริสเตียน การพูดคุยกับพระเจ้าควรเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำเหมือนกับการที่เราต้องพูดคุยกับครอบครัว กับเพื่อน พระเจ้าต้องการให้เราพูดคุยกับพระองค์ถึงทุก ๆ สิ่งในชีวิตของเรา

 

ถ้าเราต้องการให้เด็กอธิษฐานได้อย่างไม่อึดอัด เราต้องให้เด็กได้พูดคุยกับพระเจ้าถึงสิ่งที่สำคัญสำหรับพวกเขา และให้พวกเขาใช้คำศัพท์ที่เป็นของพวกเขาเอง

 

ครูควรเป็นแบบอย่างในการอธิษฐานสำหรับเด็ก ในฐานะที่เป็นครู เราต้องระมัดระวังในการสอนทัศนะคติในการอธิษฐานที่เหมาะสม บ่อยครั้งที่เรามักให้ความสนใจแต่ในการ ร้องทูลการอธิษฐานนั้นเป็นมากกว่าการที่คนหนึ่งเอาแต่ทูลอธิษฐาน และพระเจ้าเป็นผู้ฟังเท่านั้น การอธิษฐานนั้นต้องรวมถึงทั้งการเปิดปากพูด และการเปิดหูเพื่อฟังด้วย

 

วิธีเรียนรู้เกี่ยวกับการอธิษฐานที่ดีที่สุดก็คือ การลงมือ อธิษฐาน จัดเตรียมโอกาสสำหรับเด็ก ๆ ในการอธิษฐาน และจัดเตรียมโอกาสสำหรับพวกเขาในการที่จะสงบนิ่งต่อพระเจ้า การช่วยเด็กให้สร้างระบบในการอธิษฐานของพวกเขา ควรให้เขาได้อธิฐานสำหรับบางสิ่งบางอย่างเฉพาะเจาะจง

 

เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดถ่อมจิตใจลงเหมือนเด็กเล็กคนนี้ ผู้นั้นจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 18:4)

พระเยซูคริสต์ทรงรู้ว่าเด็ก ๆ เชื่อ  และวางใจ ได้เร็ว ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญในชีวิตการอธิษฐานที่มีประสิทธิภาพ

 

การฟังเด็กที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางในการฟังที่มีประสิทธิภาพ

1.             แสดงความสนใจด้วยสายตา และท่าทาง

2.             มุ่งจุดสนใจไปที่เด็ก และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิ

3.             อย่าขัดจังหวะในขณะที่เขาพูด

4.             อย่าแก้ไข หรือคัดค้านเด็กโดยฉับพลัน แต่ให้ทำด้วยความนุ่มนวล

5.             ถามคำถามเด็กด้วยความอ่อนโยน อย่าตะคอกเด็ก

6.             ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าท่านเข้าใจในสิ่งที่เด็กพูด ให้ท่านถามพวกเขาด้วยลักษณะของการพูดคุย

7.             จงมีความอดทน อย่ารีบเร่งเด็กในการพูด

 

แสดงท่าทางในแง่บวกเมื่อพูดคุยกับเด็ก

1.             นั่งหรือยืนให้อยู่ในระดับความสูงเท่า ๆ กับเด็ก

2.             ถ้ามีผู้ใหญ่เข้ามาขัดจังหวะการสนทนา ให้ท่านขอตัวกับเด็กก่อน

3.             จับจ้องที่ดวงตาของพวกเขา ขณะที่พูดคุยกัน

4.             มีใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม

5.             เรียกชื่อของพวกเขาเสมอ

6.             ใช้การสัมผัสที่อ่อนโยน (ให้ดูความต้องการของเด็กด้วย)

7.             ถามคำถามในสิ่งที่เด็กพูดคุยกับท่าน

8.             ถามคำถามที่เกี่ยวกับตัวของพวกเขาเป็นส่วนตัว

9.             ถามความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง

 

 

บุคลิกภาพตามวัยของเด็ก

บุคลิกภาพตามวัยของเด็ก

วัยก่อนเข้าโรงเรียน
ด้านร่างกาย
1. มีพลังงานระดับสูง
2. มีข้อจำกัดในการใช้ทักษะที่ดี

ด้านจิตใจ
1. มีความคิดที่เห็นได้ชัดเจน
2. สมาธิสั้น
3. มีความเข้าใจเกี่ยวกับอดีต และอนาคตได้ยาก
4. มีความจำกัดในความเข้าใจเกี่ยวกับระยะทาง และพื้นที่
5. ลืมง่าย (กฎเกณฑ์)

ด้านอารมณ์ / การเข้าสังคม
1. เห็นแก่ตัว
2. ชอบเล่นกับผู้อื่น แต่ยากในการแบ่งปัน
3. คำยกย่องชมเชยมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ดี

ด้านจิตวิญญาณ
1. สามารถเรียนรู้จักการอธิษฐาน
2. ทัศนคติเกี่ยวกับพระเจ้า คือเป็นเหมือนกับผู้ใหญ่

6-7 ปี

ด้านร่างกาย
1. มีการพัฒนาการใช้ทักษะที่ดี แต่ยังมีความสับสนในความจำกัดในการบังคับใช้ทักษะที่ดี
2. ชอบการเล่นเกมส์เป็นทีม
3. มีจินตนาการสูงส่ง
4. มีการตอบสนองที่ดีต่อกิจกรรม และเรื่องราวที่เกี่ยวกับการผจญภัย

ด้านจิตใจ
1. อยากรู้อยากเห็น ชอบซักถาม
2. มีความจำกัดด้านความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา และสถานที่
3. ชอบการอ่าน

ด้านสังคม
1. มีการรับรู้ต่อความกดดันของเพื่อนรอบข้าง
2. มีการแสดงออกเหมือนเป็นผู้ใหญ่

ด้านอารมณ์
1. อ่อนไหวมากต่อการติเตียน

ด้านจิตวิญญาณ
1. มีความเข้าใจสิ่งถูกสิ่งผิด แต่ต้องแยกให้ชัดเจน พวกเขาสามารถเห็นข้อบกพร่องของเด็กคนอื่นได้ว่าย แต่มักมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง
2. ให้ความนับถือต่อการสอนฝ่ายจิตวิญญาณ

อายุ 8-9 ปี

ด้านร่างกาย

1. ชอบเกมส์ที่มีหลัการ ทั้งการใช้กำลัง และความคิด
2. ให้ความสนใจต่อความจำกัดด้านร่างกายของตนเองมาก

ด้านจิตใจ
1. ชอบเรื่องราวที่เป็นจริง
2. สนในการเรียนรู้ที่ท้าทาย
3. สามารถนำการจดจำออกมาใช้ได้อย่างง่าย ๆ
4. ให้ความสนใจต่อคนที่มีความโดดเด่นในโรงเรียนมาก

ด้านสังคม
1. ความเสมอภาคเป็นเรื่องที่สำคัญ
2. ชอบที่จะเป็นที่ไว้วางใจ และมีความรับผิดชอบ
3. ชอบคบหาผู้ใหญ่
4. ชอบการแข่งขันที่เป็นกลุ่มมากกว่าเป็นส่วนบุคคล

ด้านอารมณ์
1. อย่าทำกับพวกเขาเหมือนกับว่าพวกเขาเป็นเด็กกว่าที่พวกเขาเป็น
2. เริ่มให้ความสนใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกนี้

ด้านจิตวิญญาณ
1. เตรียมเข้าสู่โอกาสใจการทำพันธกิจได้
2. เริ่มมีการพัฒนาด้านการอธิษฐานเป็นส่วนตัว

10-11 ปี

ด้านร่างกาย

1. ฮอร์โมน-อ่อนไหวต่อการแสดงออกของเพศตรงข้ามเวลาที่เล่นเกมส์ด้วยกัน
2. เด็กผู้ชายมักไม่อยู่นิ่ง

ด้านจิตใจ
1. ความคิดที่สลับซับซ้อนเริ่มมีการพัฒนา
2. ชอบมีวีรบุรุษประจำใจ
3. ความสามารถพิเศษเริ่มปรากฏ เช่น การเล่นเปียโน, การเต้นรำ, ความรู้ และอื่น ๆ

ด้านสังคม
1. ให้ความสนใจต่อเพื่อนวัยเดียวกันมาก
2. ชอบการทำงานเป็นทีม
3. ชอบการแข่งขันเป็นกลุ่ม

ด้านอารมณ์
1. อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ

ด้านจิตวิญญาณ
1. สามารถเฝ้าเดี่ยวด้วยตนเองได้
2. ต้องช่วยพวกเขาให้เข้าใจในการเชื่อในสิ่งที่ตนเองทำ
3. การท้าทายความเชื่อของพวกเขา

ข้อสอบของพระเยซูสำหรับสาวก

ข้อสอบของพระเยซูสำหรับสาวก

มาระโก 6:7-13

 

7 พระองค์ทรงเรียกสาวกสิบสองคนมา   แล้วทรงใช้เขาให้ออกไปเป็นคู่ๆ  ทรงประทานอำนาจให้เขาขับผีร้ายออกได้ 8และตรัสกำชับเขาไม่ให้เอาอะไรไปใช้ตามทาง   เว้นแต่ไม้เท้าสิ่งเดียว   ห้ามมิให้เอาอาหารหรือย่าม   หรือหาสตางค์ใส่ไถ้ไป 9แต่ให้สวมรองเท้าและไม่ให้สวมเสื้อสองตัว 10แล้วพระองค์ตรัสสั่งเขาว่า   “ถ้าไปแห่งใดเมื่อเข้าอาศัยในเรือนไหน   ก็อาศัยในเรือนนั้น   จนกว่าจะไปจากที่นั่น 11และถ้าแห่งไหนไม่ต้อนรับไม่ฟังท่านทั้งหลาย   เมื่อจะไปจากที่นั่น   จงสะบัดผงคลีใต้ฝ่าเท้าของท่านออก   ส่อให้เห็นความผิดของเขา” 12ฝ่ายเหล่าสาวกก็ออกไปเทศนาประกาศให้กลับใจเสียใหม่ 13เขาได้ขับผีให้ออกเสียหลายผี   และได้เอาน้ำมันทาคนเจ็บป่วยหลายคนให้หายโรค

 

คำนำ

การที่เราจะรู้ว่า ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ทำได้โดยการ “ทดสอบ” ซึ่งการทดสอบนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบหนึ่งที่พระเยซูใช้คือ การส่งออกไปรับใช้ในสนามจริง

ในบรรยากาศของการสอบ เราเคยสงสัยไหมว่า เมื่อพระเยซูทรงฝึกฝนสาวก พระองค์ทรงสอบเขาหรือไม่ ถ้าสอบเขา พระองค์ได้สอบวิชาอะไรบ้าง

 

เสนอ

                เมื่อพระเยซูทรงสอบสาวกนั้น พระองค์ได้ทดสอบพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

เชื่อมโยง

พระเยซูทรงทำการสั่งสอนสาวกของพระองค์มาระยะหนึ่ง จนกระทั่งทรงเห็นว่า เขาควรจะออกไปฝึกฝนพัฒนาการรับใช้ (ฝึกภาคปฏิบัติ) และได้ทรงกำหนดการสอบในวิชาต่าง ๆ สำหรับเขา ซึ่งสามารถแยกออกได้อย่างน้อย 4 วิชาด้วยกัน

 

คำไข      วิชา

 

วิชาที่ 1 การรับใช้เป็นทีม (7.)

พระองค์ทรงเรียกสาวกสิบสองคนมา   แล้วทรงใช้เขาให้ออกไปเป็นคู่ๆ

คำอธิบาย

ก.      พระเยซูไม่ค่อยได้รับการยอมรับในเมืองของพระองค์มากนัก

ข.      พระองค์ได้ใช้สาวกของพระองค์ออกไปรับเป็นคู่ ๆ

-          พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า ใครคู่กับใคร เราอาจจะจินตนาการว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเปโตรที่อารมณ์ร้อน โผงผางตรงไปตรงมาไปกับยูดาสอิสคาริโอทที่ชอบซิกแซกซ่อนเร้น ซีโมนพรรคชาตินิยมที่เต็มไปด้วยอุดมการณ์และคุ้นเคยกับความรุนแรงไปกับมัทธิวที่เคยเก็บภาษีซึ่งเป็นเหมือนทาสรับใช้โรม เป็นต้น

ค.      การทดสอบเรื่อง “ความสัมพันธ์” และ “การรับใช้ร่วมกันเป็นทีม” จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะในพระคัมภีร์ได้แสดงให้เราเห็นว่า คนของพระเจ้านั้นทำงานเป็นคู่หรือทีมเสมอ เช่น อาดัม-เอวา, โนอาห์และลูกๆ, อับราฮัมและทีมรับใช้, โมเสสและอาโรน, ดาวิดและเหล่าทหารเอก, เนหะมีห์และประชาชน, พระเยซูและสาวก, เปโตรกับยอห์น, เปาโลและทีม เป็นต้น

ง.       ไม่ปรากฏว่ามีสาวกคู่ใดล้มเหลวในการออกไปรับใช้เป็นคู่เป็นทีม นั่นหมายความว่า พวกเขาได้สอบผ่านวิชานี้แน่นอน

 

หนุนใจและท้าทาย

ก.      ความสำคัญของการรับใช้เป็นทีม

-          การรับใช้ร่วมกับคนที่แตกต่างจากเราจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าปราศจากความรัก ที่พร้อมยอมรับและอภัยซึ่งกันและกัน ถ้าทำได้ก็จะเกิดพลังอย่างมหาศาลในการรับใช้ เพราะทั้งสองคนจะสนับสนุนและเสริมจุดดีจุดด้อยซึ่งกันและกัน เมื่อทั้งสองคนทำงานประสานกัน ก็จะเกิด 3 พลัง คือ พลังของแต่ละคน และพลังที่เสริมกัน

-          แต่คนทั่วไปมักจะชอบรับใช้ร่วมกับคนที่คิดเหมือนเรา พูดแบบเดียวกับเรา ชอบทำอะไรคล้ายๆ เรา ซึ่งทำให้ขาดพลังในการรับใช้ เพราะแม้จะมี 2 คน แต่เป็นแค่พลังเดียว

ข.      การสอบผ่านวิชานี้

-          ในชีวิตจริงของการรับใช้ เรามักจะต้องร่วมรับใช้กับคนที่ไม่เหมือนเรา หรือที่เราไม่ชอบอยู่เสมอ ถ้าเราสอบวิชานี้ในขณะนี้ไม่ได้ เราก็จะต้องสอบซ่อมไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะผ่าน

-          คำคม อ.สมศักดิ์ “ถ้าคุณทนต่อคนคนเดียวไม่ได้ คนจะทนต่อคนทั้งโลกได้อย่างไร”

-          ยิ่งทำงานมากขึ้น สูงขึ้น กว้างขึ้น เรายิ่งต้องรับใช้กับคนประเภทต่าง ๆ มากขึ้น ถ้าเราเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับคนทุกประเภทได้ เราก็จะสามารถเกิดผลในการรับใช้ได้มากขึ้นร่วมกับคนทุกคน ทุกประเภท ทุกแบบ

-          น่าเสียดายที่ผู้รับใช้จำนวนมากสอบไม่ผ่านวิชานี้ บางคนสอบตกตั้งแต่ยังไม่ได้ออกไปรับใช้ด้วยซ้ำไป

 

 

 

วิชาที่ 2 การรับใช้ด้วยฤทธิ์เดช (7ข., 13)

ทรงประทานอำนาจให้เขาขับผีร้ายออกได้

เขาได้ขับผีให้ออกเสียหลายผี   และได้เอาน้ำมันทาคนเจ็บป่วยหลายคนให้หายโรค

คำอธิบาย

ก.      พระเยซูทรงมอบสิทธิอำนาจเหนือผี และโรคภัยให้กับสาวกของพระองค์ด้วย

ข.      ตลอดเวลาที่ผ่านมา สาวกเป็นเพียงผู้ดู พระเยซูใช้สิทธิอำนาจเหล่านี้ เขาคงจะคิดว่า ถ้ามีโอกาส เขาอยากมีสิทธิอำนาจอย่างนั้นบ้าง แต่เมื่อถึงเวลาจริง ๆ พวกเขาก็อาจจะต้องต่อสู้กับความกลัว ความไม่เชื่อมั่น ความสงสัยต่างๆนานา

ค.      จากข้อ 13 เราจะพบว่า พวกสาวกได้ต่อสู้ และสอบผ่านวิชานี้อย่างสวยงาม

คำหนุนใจและท้าทาย

ก.      ตัวอย่าง – ทหารออกรบ มีปืนแต่ไม่ใช้ กลับไปให้หนังกะติ๊กไปรบ // ผู้รับใช้จำนวนมากสอบตกวิชานี้ ไม่รู้จักใช้สิทธิอำนาจที่พระเยซูมอบให้ เขาจึงไม่สามารถประสบความสำเร็จในการรับใช้ได้ตามขนาดที่ควรจะเป็น

ข.      ข้อพระคัมภีร์ที่ยืนยันว่าพระเยซูได้มอบสิทธิอำนาจนี้ให้เรา (มธ.28:18-20)

18พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับเขาว่า   “ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี   ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว 19เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ   ให้เป็นสาวกของเรา   ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา   พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ 20สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้   นี่แหละเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป   จนกว่าจะสิ้นยุค”

                พันธกิจที่ปราศจาก “ฤทธานุภาพ” ย่อมไม่สามารถสำเร็จได้เลย // พระเยซูทรงรู้ว่าโดยกำลังของมนุษย์นั้น ยากที่จะทำให้พันธกิจนี้สำเร็จได้ ดังนั้นทางเดียวที่จะสำเร็จได้ก็คือ “ฤทธานุภาพทั้งสิ้น” เท่านั้น

 

วิชาที่ 3 การรับใช้ด้วยความไว้วางใจ (8-10)

8และตรัสกำชับเขาไม่ให้เอาอะไรไปใช้ตามทาง   เว้นแต่ไม้เท้าสิ่งเดียว   ห้ามมิให้เอาอาหารหรือย่าม   หรือหาสตางค์ใส่ไถ้ไป 9แต่ให้สวมรองเท้าและไม่ให้สวมเสื้อสองตัว 10แล้วพระองค์ตรัสสั่งเขาว่า   “ถ้าไปแห่งใดเมื่อเข้าอาศัยในเรือนไหน   ก็อาศัยในเรือนนั้น   จนกว่าจะไปจากที่นั่น

คำอธิบาย

ก.      คำกำชับพิเศษของพระเยซู

-          ไม่ให้เอาอะไรไปใช้ตามทาง ยกเว้นไม้เท้า (ตัวอย่าง... ไม้พองของลูกเสือ)

-          ห้ามไม่ให้เตรียมเสบียงอาหารไป

-          ไม่ให้ย่ามบรรจุของใช้ไม้สอยไป

-          ไม่ให้หาสตางค์ไปไถ้ไป

-          ไม่ให้ย้ายเรือน

-          ตัวอย่าง... เมื่อนักศึกษาจะออกทีม เราจะมีการเตรียมการอย่างดี มีวัสดุอุปกรณ์เพียบ และไม่ลืมที่จะเตรียมอาหาร (ข้าวเหนียว เนื้อสวรรค์) งบประมาณพอเพียง เครื่องเสียง-เครื่องดนตรี รวมทั้งของใช้ส่วนตัว เช่น ครีมหน้าเด้ง-ผิวขาวอมชมพู, โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป เป็นต้น

ข.      อะไรคือเหตุผลของพระเยซูในคำกำชับนี้

-          ที่ไม่ให้นำข้าวของไปเพราะฝึกให้รับใช้ด้วยความเชื่อ และไว้วางใจในพระเจ้า ไม่ใช้อาศัยสิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น

-          ที่ไม่ให้ย้ายบ้านพัก อาจจะเป็นเพราะเมื่อได้ประกาศ-ขับผี-รักษาโรค พวกสาวกก็จะได้รับความนิยมชมชอบ ได้รับการต้อนรับที่ดีขึ้น อาจจะมีผู้ที่มีฐานะดีกว่า-เสนอทางเลือกที่ดีกว่า ให้ไปพักอาศัยอย่างสุขสบาย และกินดื่มอย่างอิ่มหมีพีมัน (ตัวอย่าง... เหมือนทีมคริสตมาสภาคใต้) เมื่อพวกเขาตอบสนองข้อเสนอที่ดีกว่าก็จะทำให้เขาไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างสมถะ ไม่ต้องพึ่งพาการเลี้ยงดูจากพระเจ้า หรือนาน            ไปก็หันไปปรนนิบัติเงินทองแทนพระเจ้าไปเลย

 

คำหนุนใจและท้าทาย

ก.      การเรียนรู้ที่จะผ่านการสอบวิชานี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่มีกองทุนรองรับ และมีหน่วยงานที่พร้อมจะสนับสนุนเอออกไปรับใช้พระเจ้า

ข.      แต่การทดสอบของพระเจ้าเรื่องนี้จะมายังชีวิตของผู้รับใช้ทุกคนแน่นอน เราจะต้องมีวาระที่จะต้องอยู่อย่างท้าทาย ต้องพึ่งพาพระเจ้าอย่างแท้จริง อาจจะถึงขั้นที่มองหาความช่วยเหลือจากใครก็ไม่มีเลย เมื่อถึงเวลานั้น ท่านจะผ่านข้อสอบนี้ได้หรือไม่

ค.      ถ้าเราจะผ่านการทดสอบเรื่องนี้ได้ เราต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอย่างไว้วางใจพระเจ้าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป รู้จักแสวงหาพระเจ้ามากกว่าที่จะเข้าหามนุษย์เพื่อขอความช่วยเหลือ รู้จักอดทน อดกลั้นเมื่อขาดแคลน หรือรู้จักอยู่อย่างมีความสุขในสภาพที่ไม่สะดวกสบาย ไม่อุดมสมบูรณ์ และรู้จักปฏิเสธข้อเสนอที่ดูเหมือนดีกว่า แต่กระตุ้นความอยากฝ่ายเนื้อหนัง

ง.       ผู้รับใช้ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก สามารถเป็นพยานได้ดีถึงความทุกข์ยากลำบาก ความกดดัน และปัญหาครั้งแล้วครั้งเล่าที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แต่พวกเขาเหล่านั้นได้สอบผ่าน เมื่อเผชิญด้วยความเชื่อและไว้วางในพระเจ้า (ดูตัวอย่างความทุกข์ของเปาโล 1 คร.11:23-29)

 

 

 

 

 

วิชาที่ 4 การรับใช้อย่างสัตย์ซื่อ

11และถ้าแห่งไหนไม่ต้อนรับไม่ฟังท่านทั้งหลาย   เมื่อจะไปจากที่นั่น   จงสะบัดผงคลีใต้ฝ่าเท้าของท่านออก   ส่อให้เห็นความผิดของเขา” 12ฝ่ายเหล่าสาวกก็ออกไปเทศนาประกาศให้กลับใจเสียใหม่

คำอธิบาย

ก.      สิ่งที่พระเยซูกำชับและอยากให้สำเร็จในการทดสอบสาวกครั้งนี้เกี่ยวกับความสัตย์ซื่อ คือ

-          ความจริงจังและใส่ใจต่อภารกิจที่พระองค์ทรงมอบให้ – ถึงขนาดว่า ถ้ามีใครไม่ฟัง ไม่ต้อนรับ ก็ต้องมีการแสดงออกอะไรบางอย่าง ตามความเหมาะสมในวัฒนธรรม เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่า สิ่งที่เราได้บอก ได้นำมานี้ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากที่สุดต่อชีวิตของพวกเขา

-          ความสัตย์ เสมอต้นเสมอปลาย และรับผิดชอบต่อการรับใช้ที่พระเยซูมอบหมายให้

ข.      พวกเขาได้พยามจนถึงที่สุด และได้ทำจนสำเร็จ ได้ออกไปตามบ้านเมืองต่างๆ เท่าที่จะสามารถไปได้ และพวกเขาไม่ได้รีรอที่จะประกาศให้ผู้คนกลับใจจากบาปและหันมาหาพระเจ้าทันที

 

คำหนุนใจและท้าทาย

ก.      ตัวอย่างของเปาโล (กจ. 20:20-27)

20และสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย   ข้าพเจ้ามิได้ปิดซ่อนไว้   แต่ได้ชี้แจงให้ท่านเห็น   กับได้สั่งสอนท่านในที่ประชุม   และตามบ้านเรือน 21ทั้งเป็นพยานแก่พวกยิวและพวกกรีก   ถึงเรื่องการกลับใจใหม่เฉพาะพระเจ้า   และความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้าของเรา 22นี่แน่ะ   บัดนี้พระวิญญาณพันผูกข้าพเจ้า   จึงจำเป็นจะต้องไปยังกรุงเยรูซาเล็ม   ไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้าพเจ้าที่นั่นบ้าง 23เว้นไว้แต่พระวิญญาณบริสุทธิ์   ทรงเป็นพยานแก่ข้าพเจ้าในทุกบ้านทุกเมืองว่า   เครื่องจำจองและความยากลำบากคอยท่าข้าพเจ้าอยู่ 24แต่ข้าพเจ้ามิได้ถือว่า   ชีวิตของข้าพเจ้าเป็นสิ่งมีค่าและประเสริฐสำหรับตัวข้าพเจ้า   แต่ในชีวิตของข้าพเจ้าขอทำหน้าที่ให้สำเร็จก็แล้วกัน   และทำการปรนนิบัติที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูเจ้า   คือที่จะเป็นพยานถึงข่าวประเสริฐ   ซึ่งสำแดงพระคุณของพระเจ้านั้น 25ดูเถิด  ข้าพเจ้าเที่ยวป่าวประกาศแผ่นดินของพระเจ้าในหมู่พวกท่าน   บัดนี้ข้าพเจ้าทราบอยู่ว่า   ท่านจะไม่เห็นหน้าข้าพเจ้าอีก 26เหตุฉะนั้นวันนี้ข้าพเจ้ายืนยันต่อท่านทั้งหลายว่า   ท่านทุกคนจะเป็นหรือตาย   ข้าพเจ้าก็พ้นโทษแล้ว 27เพราะว่าข้าพเจ้ามิได้ย่อท้อในการกล่าวเรื่องพระดำริของพระเจ้าทั้งสิ้นให้ท่านทั้งหลายฟัง

                เปาโลได้ใช้ชีวิตของท่านอย่างคุ้มค่าที่สุด ท่านได้ออกไปทั่วอาณาจักรโรม ประกาศการกลับใจใหม่และตั้งคริสตจักรที่เข้มแข็งในเมืองต่าง ๆ ที่ท่านไป

เมื่อชีวิตของท่านมาถึงวาระสุดท้ายแล้ว ท่านสามารถยืนต่อหน้าบรรดาผู้นำคริสตจักรทั้งหลาย แล้วกล่าวอย่างหนักแน่นว่า ท่านได้ทำส่วนของท่านในชีวิตของพี่น้องเหล่านั้นเสร็จแล้ว แม้ต่อไปภายหน้า ถ้าท่านจะต้องจากไป ท่านก็ไม่ได้เสียดายชีวิต เพราะท่านมีชีวิตไว้เพื่อทำการ “ที่พระเยซูมอบหมาย” ให้สำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้ว การจากไปก็มีแต่กำไร

ข.      ในวาระสุดท้ายของชีวิต ข้าพเจ้าฝันว่า จะสามารถกล่าวถ้อยคำต่างๆ เหมือนกับที่ท่านเปาโลกล่าวไว้ แต่กว่าจะไปถึงเหตุการณ์นั้น ข้าพเจ้าจะต้องผ่านการทดสอบในเรื่องความสัตย์ซื่ออีกมากมายหลายล้านด่าน // มันไม่ใช้แค่การ “ฝ่าด่าน 18 อรหันทองคำ” เท่านั้น แต่จะมีการทดสอบความสัตย์ของผู้รับใช้ที่หนักหน่วง ละเอียดอ่อน ซับซ้อน และรัดกุมยิ่ง

 

สรุป

-          สาวกของพระเยซูได้ผ่านการทดสอบทั้ง 4 วิชาไปแล้วอย่างสวยงาม

-          แต่สำหรับพวกเราทั้งหลาย การทดสอบเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

-          เราจะผ่านได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในวันนี้

ถ้าเรายอมเรียนรู้จากพระเยซูในทุกทางจริง ๆ เมื่อการทดสอบมาถึง เราก็จะผ่านได้

ถ้าเราไม่ยอมเรียนรู้ คอยแต่จะหลีกเลี่ยง บ่ายเบี่ยง ประคองตัวพอให้อยู่รอดได้ไปวัน ๆ เมื่อการทดสอบมาถึงเราก็จะไม่สามารถผ่านไปได้

ตัวอย่าง – คนที่ตั้งใจเรียน ทำความเข้าใจกับบทเรียนที่คณาจารย์ถ่ายทอดให้ในแต่ละชั่วโมงและนำไปใคร่ครวญ-ทดลองปฏิบัติตามเป็นอย่างดี เมื่อถึงเวลาที่จะต้องสอบ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องนำเอาไปใช้จริงๆ เขาก็จะสามารถนำไปใช้ได้ และสำเร็จอย่างสวยงาม // ตรงกันข้ามกับคนที่เรียนพอให้ผ่านๆ สนใจเรื่องอื่น ๆ มากกว่าการเรียนรู้ที่คณาจารย์ถ่ายทอดให้ คณาจารย์ให้ออกไปฝึกฝนรับใช้ ก็ไม่ค่อยใส่ใจ เอาแต่ความพอใจตนเองไปวันๆ คนแบบนี้ เมื่อถึงเวลาต้องสอบ เมื่อถึงเวลาต้องนำไปใช้ เขาก็จะพบว่า เขาไม่สามารถทำได้ เขาจะโทษคนนั้นคนนี้ โทษเรื่องนั้นเรื่องนี้ ปัญหาจริงๆ ก็คือ ตัวเขาเอง ทำให้ร้ายเขาเอง