Facilitator
Somboon Suwannachat
“ การทำหน้าที่ Facilitator ที่นำความสำเร็จมาสู่พันธกิจพัฒนาเด็กองค์รวม ”
ความหมาย Facilitator
คำว่า “วิทยากรกระบวนการ” มาจากภาษาอังกฤษว่า “ Facilitator” ซึ่งมาจากคำว่า Facilitate แปลว่า ความง่าย ความสะดวก การทำให้ง่าย การทำให้สะดวก เพราะฉะนั้นคำว่า Facilitator ถ้าแปลตามคำศัพท์แล้ว น่าจะแปลว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ให้ความสะดวก หรือผู้ที่ทำให้สิ่งที่ยาก เป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น ซึ่งมีการบัญญัติศัพท์ว่า “ผู้อำนวยกลุ่ม”
“ผู้อำนวยกลุ่ม” มีหน้าที่รับผิดชอบในอันที่จะทำให้มีหลักประกันได้ว่า สมาชิกกลุ่มได้ใช้วิธีการทำงานที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล โดยใช้เวลาที่สั้น หรือน้อยที่สุดในการทำงาน ในความหมายทางพฤติกรรมศาสตร์ ผู้อำนวยกลุ่ม คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ และให้ข้อมูลย้อนกลับถึงสิ่งที่ได้สังเกต ไม่ว่าจะเป็นในด้านเนื้อหา วิธีการทำงาน ซึ่งรวมทั้งขั้นตอนในการตัดสินใจ การสื่อความหมายในกลุ่ม และพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มปฎิกริยาของสมาชิก และวิธีการแก้ปัญหาของกลุ่ม โดยผู้อำนวยกลุ่มจะทำหน้าที่รวมถึงการเป็นผู้กระตุ้นให้กลุ่มได้พิจารณาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้งานของกลุ่มบรรลุ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบความหมายของวิทยากรในความหมายเดิมกับวิทยากรกระบวนการ
วิทยากรในความหมายเดิม | วิทยากรกระบวนการ |
1.เป็นครู (Teacher) | 1. เป็นครูฝึก (Coach) ตั้งคำถาม/สะท้อนความคิด พร้อมให้คำแนะนำ |
2. เป็นผู้นำความรู้มาให้ เน้นการ ถ่ายทอด และการฟัง | 2. เป็นผู้จัดกระบวนการให้เกิดความรู้ เน้นการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
3. มีเป้าหมายให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่นำเสนอ | 3. มีเป้าหมายให้ผุดบังเกิดความรู้ใหม่ |
4. วิทยากรเป็นศูนย์กลาง | 4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง |
5. เป็นผู้ตัดสินการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 5. เป็นเพียงกระจกสะท้อนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงตนเอง |
6. ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นความรับผิดชอบของ วิทยากร | 6. ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป็นความ รับผิดชอบ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมกันกับวิทยากร |
7. การสื่อสารทางเดียว (ONE WAY COMMUNICATION) | 7. การสื่อสารสองทาง(TWO WAY COMMUNICATION) |
8. มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (Expert) | 8. มีความรู้ที่เป็นสหวิทยาการ (องค์รวม) |
9. ต้องตอบคำถามได้ทุกอย่าง | 9. ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รู้ทุกอย่าง ความรู้อยู่ที่การเรียนรู้ร่วมกัน |
10. สนใจให้รับความรู้ พึ่งพาวิทยากร | 10. สนใจให้เกิดกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันนำไปสู่ พลังทวีคูณ (Synergy) และพึ่งพาตนเอง |
11. มุ่งยกระดับตัวความรู้ | 11. มุ่งยกระดับความคิด (Meta Level) |
12. มักเป็นระบบปิด และไม่ยืดหยุ่น | 12. เป็นระบบเปิด และยืดหยุ่น |
13. สนใจเนื้อหามากกว่ากระบวนการ | 13. ให้ความสนใจต่อกระบวนการ การปฏิสัมพันธ์ และการเกิดความรู้และวิธีการทำงานของผู้เข้าร่วม สัมมนาใหม่ ๆ มากกว่าการมารับเนื้อหาเพียง อย่างเดียว |
ตัวอย่าง : conductor ของวง orchestra
บทบาทหน้าที่ Facilitator
1. เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) การปฏิบัติในฐานะผู้ประสาน การติดต่อกับบุคคลที่เป็นแกนหลักที่อยู่นอกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ การให้คำแนะนำในการเลือกปัญหาและสมาชิกกลุ่ม
2. เป็นผู้กระตุ้น (Catalyst) การดึงบุคคลให้ออกมาจากลักษณะการกระทำในอดีต และนำไปสู่การวิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรม (แพร่หลายมากในขั้นตอนเริ่มต้นของกลุ่ม)
3. เป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) ความมีใจจดจ่อในกระบวนการกลุ่มว่ากำลังพูดเกี่ยวกับอะไร
4. เป็นผู้สร้างบรรยากาศ (Climate setter) การจัดบรรยากาศกลุ่มให้มีการเปิดใจกว้าง เพื่อให้เกิดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เป็นผู้ช่วยการสื่อสาร (Communicator enabler) ช่วยสมาชิกในการพัฒนาทักษะของการให้และการรับสารสนเทศ ความคิดเห็นและประสบการณ์
6. เป็นพี่เลี้ยงในการเรียนรู้ (Learning coach) ช่วยสมาชิกในการจัดการกับประสบการณ์ของตนเองเหมือนกับเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ การช่วยเหลือสมาชิกในการรับผิดชอบการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองของสมาชิก
คุณสมบัติของวิทยากรกระบวนการ
1. เป็นบุคคลที่พยายามเปลี่ยนแปลง ฝึกฝน พัฒนาตนเองและบุคคลในทีมให้เป็นผู้รอบรู้ มีโลกทัศน์ที่ถูกต้อง (Personal Mastery)
2. มีความเข้าใจในกระบวนการกลุ่ม
3. มีความสามารถในการจัดให้มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ
4. ให้ความเอาใจใส่กับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีม (Team Learning)
5. มีความเป็นกลาง อิสระ เป็นธรรม ไม่โอนเอียงหรืออคติ เปิดใจกว้างและเปิดเผย
6. มีจิตใจรักมนุษย์ มีความสุขกับการเห็นมนุษย์เกิดการยกระดับทางจิตวิญญาณ และภูมิปัญญา และมีความเชื่อมั่นในพลังทวีคูณ (Synergy) ระหว่างมนุษย์ ไม่ดูถูกมนุษย์
7. มีจิตใจประชาธิปไตย ใจกว้าง ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ไม่เป็นเผด็จการ เพื่อให้เกิดการปรับวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
8. มีวิธีคิดแบบองค์รวม (System Thinking) ไม่แยกส่วน
9. มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบ พร้อมที่จะขยาย ปรับ หรือเปลี่ยนแบบแผนทางความคิด (Mental Model) กล้าคิด กล้าทำ กล้าจินตนาการ กล้าเปลี่ยนแปลง (Creativity - คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ออกนอกกรอบเดิมๆ)
10. สามารถใช้สมองสองซีก ซ้าย – ขวาอย่างเชื่อมโยง มีทั้งศาสตร์และศิลปะ
11. มีประสาทสัมผัสที่ดี นอกเหนือจากตาดู หูฟัง ต้องมีความรู้ความเห็น (ญาณทัสนะ) ที่แจ่มชัด เป็นนักสังเกตการณ์ มีความละเอียดอ่อน (Sensibility) สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนได้ง่าย
12. มีอารมณ์ที่ดี สมาธิดี ใจเย็น ไม่ตื่นตระหนกง่าย ไม่ฉุนเฉียว ไม่เอาแต่ใจตัวเอง มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
13. มีความสนุก ตื่นเต้นตลอดเวลากับการปฏิสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมนุษย์ 4
14. ให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ และสังคม โดยเฉพาะการสื่อสาร 2 ทาง (Two way communication)
15. กล้าตัดสินใจ และมีความรับผิดชอบสูง
บทบาท – หน้าที่ | เหตุผล |
1. ดำเนินการประชุมแบบมีส่วนร่วม | 1. เพื่อให้ทุกคนมีความรู้สึกร่วมถึงความเป็นเจ้าของ |
2. กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด | 2. เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหา สามารถตรวจสอบความคิดของทุกคนว่ามีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด |
3. เป็นผู้เปิดประเด็น-จับประเด็น-สรุปประเด็น | 3. เพื่อการพูดคุยจะได้มีประสิทธิภาพ การตั้งหัวข้อหรือประเด็นจะต้องเข้าใจง่าย ไม่เสียเวลาตีโจทย์ สามารถจับเอาประเด็นเนื้อหาที่สำคัญของการระดมความคิด พร้อมทั้งสรุปเนื้อหาให้ตรงและเกิดการเชื่อมโยง |
4. พี่เลี้ยง-ที่ปรึกษา | 4. เมื่อสมาชิกมีความงุนงง สงสัย ผู้เป็นวิทยากรต้องอธิบายคลายความสับสนได้ นั่นก็หมายความว่าจะต้องทำการบ้านหรือเตรียมข้อมูลมาเป็นอย่างดี |
5. เชื่อมประสานได้ทุกกลุ่ม | 5. เมื่อมีความแตกต่างกันในทางความคิด หรือการแบ่งแยกเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย วิทยากรที่ดีจะต้องเชื่อมประสานความคิด เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมมือกันอย่างมีพลัง |
6. ควบคุมเวลาและสถานการณ์ | 6. เมื่อการพูดคุยหรือการประชุมเริ่มต้นพูดเรื่องเก่า ซ้ำซาก วิทยากรจะต้องคอยสังเกต และเตือนผู้เข้าร่วมว่าระยะเวลากับเนื้อหาให้เกิดความสมดุลย์ |
7. สร้างบรรยากาศ | 7. ปัจจัยที่จะทำให้แผนนั้นสำเร็จ คือบรรยากาศต้องเป็นกันเอง มีความเสมอภาค ให้เกียรติ ให้โอกาสซึ่งกันและกัน |
การตั้งคำถามเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกของทีมมีส่วนร่วมในการแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ทีมทำงานได้สำเร็จ ซึ่งลักษณะการตั้งคำถามเช่น
1.1 คำถามปลายเปิด เช่น ท่านที่เหลือมีความรู้สึกต่อเรื่องนี้อย่างไร สถานการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อพวกเราอย่างไร เราอยากจะประเมินความคิดนี้อย่างไร
1.2 คำถามเจาะลึก เช่น ช่วยอธิบายซิว่าทำไมระบบใหม่จึงยังมีค่าใช้จ่ายอยู่ ช่วยบอกหน่อยว่าผู้รับผลงานของเรามีปฏิกิริยาต่อนโยบายนี้อย่างไร
1.3 คำถามโยนลูก เช่น ท่านอื่นๆ คิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ คำถามนี้ควรตอบโดยผู้ที่มีประสบการณ์ตรง มีใครเคยมีประสบการณ์เรื่องนี้บ้าง
1.4 คำถามสะท้อนเพื่อความเข้าใจหรือคำถามสรุป เช่น ตอนนี้เราอยู่ที่ไหนกันแล้วขอความกรุณาให้ใครซักคนช่วยสรุปหน่อย ช่วยตรวจสอบดิฉันด้วยนะค่ะว่าดิฉันเข้าใจว่าคุณสมใจพูดว่า...
1.5 คำถามสะท้อนความรู้สึก เช่น คุณรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับข้อเสนอที่ได้สรุปไปเมื่อสักครู่ใช่ไหม
1.6 คำถามปิด เช่น สมาชิกเข้าใจประเด็นนี้ดีหรือยัง
การฟัง หมายถึง การที่ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อให้ทราบ การฟังให้เข้าใจสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมพยายามบอกถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญยิ่งของทีมงาน การฟังที่ดีจะช่วยกระตุ้นให้เพื่อนร่วมทีมร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงให้เห็นว่าท่านให้คุณค่าต่อความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม ยิ่งเราฟังผู้อื่นมากขึ้นเท่าไร ผู้อื่นก็จะยิ่งฟังเรามากขึ้นเท่านั้น การฟังที่ดีจะต้องใช้ทั้งตาและหู รับรู้ภาษากายและคำพูด ทำความเข้าใจในความหมายของสิ่งที่สื่อออกมาทั้งหมด ไม่ใช่เข้าใจอย่างผิวเผิน
3. การสังเกต
การสังเกต หมายถึง การเฝ้าดูพฤติกรรมบางอย่างระหว่างการประชุม ผู้ทำหน้าที่สังเกตอาจจะเป็นวิทยากรกระบวนการ หรือผู้นำ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสังเกตคือการนำผลการสังเกตนั้นไปใช้กระตุ้นหรือแทรกแซงเพื่อให้กลุ่มมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ละเว้นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งแนวทางทั่วไปสำหรับการสังเกต คือ
3.1 ไม่เข้าร่วมในเนื้อหาของการอภิปรายขณะสังเกต ผู้สังเกตควรนั่งออกมาจากกลุ่มที่กำลังอภิปรายกันอย่างชัดเจน และไม่ควรเข้าร่วมในการอภิปราย ควรใส่ใจกับวิธีการอภิปรายและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
3.2 การนำเสนอผลการสังเกต ผู้สังเกตควรนำเสนอเฉพาะในส่วนที่ตนเห็นและได้ยินเท่านั้น ไม่ควรเป็นตัวแทนความคิดของผู้อื่น การนำเสนอควรบรรยายอย่างเป็นระบบ เช่น ตามลำดับการเกิดเหตุการณ์หรือตามหัวข้อในการสังเกต
3.3 การอภิปรายผล ควรให้สมาชิกแต่ละคนนำเสนอผลการสังเกตของตนว่าแตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้สังเกตเห็นหรือไม่
การให้ข้อมูลป้อนกลับ คือการสะท้อนให้ผู้ใดผู้หนึ่งทราบถึงผลการกระทำของเขา ซึ่งแนวทางสำหรับการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีดังนี้
4.1 ยอมรับความจำเป็นของการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปรับปรุงการประชุมของทีมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทีม สมาชิกของทีมควรทำความตกลงกันว่าการให้และการรับข้อมูลป้อนกลับเป็นวิธีการที่ทุกคนยอมรับ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานร่วมกัน เพื่อว่าเมื่อมีการให้ข้อมูลป้อนกลับและผู้รับจะไม่เกิดความตกใจหรือแปลกใจ
4.2 สังเกตพฤติกรรมของสมาชิก วิทยากรกระบวนการและสมาชิกของทีมควรคอยสังเกตว่าพฤติกรรมใดที่เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานของทีม พฤติกรรมหรือคำพูดใดที่ทำให้สมาชิกของทีมไม่สบายใจหรือทีมเกิดความร้าวฉาน
4.3 พิจารณาโอกาสที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงผู้ให้และผู้รับ ควรให้ข้อมูลป้อนกลับโดยเร็วที่สุดที่มีโอกาส
4.4 วิเคราะห์เป้าหมาย บุคคล สถานที่ เป้าหมายของการให้ข้อมูลป้อนกลับคือการแสดงความชื่นชมกับพฤติกรรมที่ดี และการขอให้เปลี่ยนพฤติกรรม การวิเคราะห์บุคคลจะทำให้กำหนดวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับได้อย่างเหมาะสม ส่วนสถานที่สำหรับการให้ข้อมูลป้อนกลับควรทำในที่เปิดเผยหากเป็นการชื่นชมกับพฤติกรรมที่ดี แต่ถ้าเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควรเป็นการคุยกันตัวต่อตัว
5. ภาษากาย
ภาษากายเป็นส่วนที่สำคัญที่วิทยากรกระบวนการสื่อไปยังสมาชิกของทีมอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากคำพูด ในระหว่างการประชุมจะมีการส่งผ่านภาษากายระหว่างสมาชิกในทีมมากกว่าคำพูด วิทยากรกระบวนการที่มีไหวพริบจะไม่ส่งภาษากายซึ่งอาจจะได้รับการแปลความหมายในทางลบโดยสมาชิกของทีม ซึ่งทำให้การอภิปรายไม่คืบไปข้างหน้า เช่น การดูนาฬิกา เพราะอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าอยากให้หยุดพูด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น